เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):นักเรียนมีความเข้าใจ และเกิดทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

Week 5


   เป้าหมายรายสัปดาห์ :นักเรียนเข้าใจกระบวนการทดลอง และอธิบายความสำคัญของแสงที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
5
6-10 ..
2560

โจทย์ : แสงมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร
Key Question:
- แสงมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร
- พืชที่ไม่ได้รับแสงจะเป็นอย่างไร
- แสงมีประโยชน์อย่างไร /เพราะเหตุใด
- แสงเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างไร
- แสงมีผลกระทบต่อตัวเราสิ่งมีชีวิตอย่างไร
เครื่องมือคิด
 
- Round Robin แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Blackboard Share  แสดงความคิดเห็นสรุปผลการทดลอง
- Show and Share  ชิ้นงาน
- Wall Thinking ชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในชั้นเรียน
- ครอบครัว
- อินเตอร์เน็ต

วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- นักเรียนสังเกตจากการปลูกถั่วงอกแบบกลางแจ้ง กับที่ทึบแสง (ปลูกตั้งแต่สัปดาห์ที่
4)
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “พืชที่ปลูกทั้งสองที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร/เพราะเหตุใด”
เชื่อม
นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากการสังเกตต้นถั่วทั้ง
2 ที่
ชง
ครูกระตุ้นต่อ “แสงมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตอย่างไร”
เชื่อม
นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน พร้อมกับตั้งคำถามจากสิ่งที่สงสัย แล้วค้นหาข้อมูลเพื่อตอบและคลี่คลายสิ่งที่อยากรู้
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง

- ครูพานักเรียนทดสอบดูแป้งในพืชสีเขียวที่มีการสังเคราะห์แสงออกมาในรู้ของพลังงาน
- นักเรียนตั้งคำถามจากการทดลอง
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “แสงเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้อย่างไร”
- ครูพานักเรียนทดลองวางหลอดโซล่าเซลล์ไว้กลางแดดจ้าในช่วงเช้า และมาทดลองปิดใช้ในช่วงบ่ายในห้องเรียน
- นักเรียนตั้งคำถามกับสิ่งที่เห็น และค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของโซล่าเซลล์ และคลี่คลายของสงสัยของตนเอง
เชื่อม
นักเรียนแลกเปลี่ยนการทำงานของโซล่าเซลล์ร่วมกัน
ใช้
นักเรียนขมวดความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นไฟฟ้าในรูปของชิ้นงาน และนำมา

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
วันพุธ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูพาทำการทดลองการรวมแสงด้วยแว่นขยายเพื่อเผ่ากระดาษเพื่ออธิบายการเปลี่ยนรูปของแสงเป็นพลังงานความร้อน
เชื่อม
นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปของแสงเป็นพลังงานความร้อน
ใช้
นักเรียนสรุปการทดลองลงในสมุดบันทึก
วันพฤหัสบดี (1 ชั่วโมง)
ชง

- ครูกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “แสงมีผลกระทบต่อตัวเราสิ่งมีชีวิตอย่างไร”
- นักเรียนค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
เชื่อม
นักเรียนค้นหาข้อมูลและขมวดชุดความรู้ที่ได้มาเป็นความเข้าใจเพื่ออภิปรายร่วมกัน
วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาในสัปดาห์นี้ร่วมกัน “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรมาบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้
นักเรียนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์ที่
5

ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของแสงเป็นพลังงานไฟฟ้า
- ทดสอบแป้งในพืชสีเขียว
- สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- ขมวดชุดความรู้และถ่ายทอดความเข้าใจร่วมกัน

ชิ้นงาน
- บันทึกผลการทดลอง
- สรุปบทเรียนความสำคัญของแสง
- นักเรียนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์ที่
5





ความรู้
นักเรียนเข้าใจกระบวนการทดลอง และอธิบายความสำคัญของแสงที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตได้
ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้  
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การสังเกต
ตั้งคำถาม รวบรวม และประมวลผล สรุปเป็นความเข้าใจของตนเองได้
คุณลักษณะ:
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน


























1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้นักเรียนได้เรียนรู้ความสำคัญของแสง ผ่านการสังเกตการเจริญเติบโต ของเมล็ดที่ปลูกทั้ง 3 กระถาง คือกระถางเปิด กระถางปิด และกระถางปิดครึ่งเดียว ลักษณะของต้นพืชจากทั้ง 3 กระถางแตกต่างกันชัดเจน แต่ทุกกระถางสามารถงอกได้หมดเหมือนกัน พี่ๆเกิดคำถามใหม่หลังการสังเกตหลายข้อเช่น ทำไมต้นพืชถึงเอนไปหาแสง แสงทำให้พืชเป็นสีเขียวได้อย่างไร อะไรคือปัจจัยใจในการงอก และพืชต้องการอะไรบ้างในการเจริญเติบโต คำถามเหล่านี้นำนักเรียนไปค้นหาคำตอบที่อยากรู้ด้วยตนเอง บางคำตอบได้มาเป็นการงอกของเมล็ด ได้ความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่ ตลอดจนปัจจัยต่างๆของการงอกและการเจริญเติบโตของพืช จากนั้นพี่ๆก็ได้ทดสอบแป้งในใบชบาด่างโดยใช้สารละลายไอโอดีนกับครูปุ๋ย ได้เพิ่มความเข้าใจใหม่อีกเรื่องคือออกซิเจนที่มาจากต้นไม้ได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช และวันศุกร์พี่ๆจะได้เรียนรู้วิธีการป้องกันผลกระทบจากแสงผ่านกิจกรรมเดินทางไกล เดินออกจากความคิด ทุกคนสนุกกับการเดินทางค่ะ

    ตอบลบ