เป้าหมายหลัก (Understanding Goal):นักเรียนมีความเข้าใจ และเกิดทักษะกระบวนทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

Week 8



เป้าหมายรายสัปดาห์ :นักเรียนเข้าใจกระบวนการทดลอง และอธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงดัง และเสียงค่อยได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
8
27 ..
-
3 มี..

2560


โจทย์ : เสียงสูงต่ำกับขนาดของตัวสั่น
Key Question:
- ทำไมเวลาเราตะโกนในโอ่งจึงมีเสียงก้อง
- ขนาดของตัวสั่นมีผลอย่างไรกับเสียงที่เกิดขึ้น
- นักเรียนจะออกแบบเครื่องดนตรีอย่างไรให้มีเสียงที่หลากหลาย
- มนุษย์สามารถรับเสียงดังที่สุดได้แค่ไหนและมีการตรวจสอบได้
อย่างไร
- ต้นไม้ได้ยินเสียงจริงไหม/เพราะเหตุใด
- เสียงบำบัดจิตได้จริงไหม/เพราะเหตุใด
เครื่องมือคิด
 
- Round Robin แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
- Blackboard Share  แสดงความคิดเห็นสรุปผลการทดลอง
- Show and Share  ชิ้นงาน
- Wall Thinking ชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ 
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้

วันจันทร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ทำไมเวลาเราตะโกนในโอ่งจึงมีเสียงก้อง”
- ครูเปิดคลิปวีดีโอ เสียงสูงต่ำ-ขนาดของตัวสั่น
และกระตุ้นด้วยคำถามต่อ “ขนาดของตัวสั่นมีผลอย่างไรกับเสียงที่เกิดขึ้น” “มนุษย์สามารถรับเสียงดังที่สุดได้แค่ไหนและมีการตรวจสอบได้อย่างไร”
เชื่อม
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันจากคลิปที่ได้ดู พร้อมกับตั้งคำถามจากคลิปวีดีโอที่ดู และข้อสงสัยที่ยังไม่คลี่คลาย
- นักเรียนค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อตอบคำถามที่สงสัย และอยากรู้
ใช้
นักเรียนขมวดความเข้าใจจากชุดความรู้ที่สืบค้นมาในรูปแบบต่างๆ
เชื่อม
นักเรียนอภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงดัง และเสียงค่อยร่วมกัน
วันอังคาร (2 ชั่วโมง)
ชง

- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะออกแบบเครื่องดนตรีอย่างไรให้มีเสียงที่หลากหลาย”
- นักเรียนจับกลุ่ม
4 คนเพื่อออกแบบเครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า ในรูปแบบของตนเองและมีเสียงที่หลากหลาย ตลอดจนแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์ร่วมกัน
- นักเรียนสร้างเครื่องดนตรีตามแบบ และวัสดุที่
เตรียมมาร่วมกันเป็นกลุ่ม

เชื่อม
นักเรียนนำเสนอเครื่องดนตรี และอธิบายการทำ พร้อมสาธิตการเล่นร่วมกัน
วันพุธ-พฤหัสบดี (3 ชั่วโมง)
ชง
ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ต้นไม้ได้ยินเสียงจริงไหม/เพราะเหตุใด และเสียงบำบัดจิตได้จริงไหม/เพราะเหตุใด”
เชื่อม
- นักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกันพร้อมจำแนกเสียงเพลงต่างๆ แล้วมานำเสนอร่วมกัน

- นักเรียนสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดนตรีบำบัด
ใช้
นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีบำบัดในรูปแบบของการ์ตูนช่อง

วันศุกร์ (2 ชั่วโมง)
ชง
ครูและนักเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาในสัปดาห์นี้ร่วมกัน “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรมาบ้างในสัปดาห์นี้”
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่รู้แล้วเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ผ่านมาตลอดทั้งสัปดาห์
ใช้
นักเรียนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์ที่
8

ภาระงาน
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับขนาดของตัวสั่นให้เกิดเสียง
- สืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
- ขมวดชุดความรู้และถ่ายทอดความเข้าใจร่วมกัน
- ออกแบบและประดิษฐ์เครื่องดนตรีของตนเอง

ชิ้นงาน
- สรุปบทเรียนการเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงดัง และเยงค่อย
- เครื่องดนตรี
- การ์ตูนช่องความรู้ดนตรีบำบัด
- นักเรียนสรุปบทเรียนรายสัปดาห์ที่
8

ความรู้
นักเรียนเข้าใจกระบวนการทดลอง และอธิบายการเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ เสียงดัง และเสียงค่อยได้
 
ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
- เลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
- ยินดีและพอใจในสิ่งที่ตนเองมี เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
- เข้าใจและมีเป้าหมายในการเรียนรู้สิ่งที่ตนเองรู้และต้องการรู้โดยให้เหตุผลอ้างอิง เพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจในการเรียนรู้ได้  
ทักษะการคิด
 - คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการดูคลิป รวมทั้งสามารถเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหาในการทำงานกลุ่ม
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงานเพื่อนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่ม เข้าใจและเรียนรู้ได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การสังเกต
ตั้งคำถาม รวบรวม และประมวลผล สรุปเป็นความเข้าใจของตนเองได้
คุณลักษณะ:
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นในการทำงาน











































1 ความคิดเห็น:

  1. PBL

    ในสัปดาห์นี้ครูมีโจทย์ใหญ่ให้นักเรียนคือการสร้างเครื่องดนตรีที่มีเสียงหลายระดับจากวัสดุที่มีอยู่ Step1 เริ่มต้นด้วยการคิดคนเดียวประมวลความเข้าใจของตนเองจากประสบการณ์ที่ตนเองเคยทำมา อธิบายสิ่งที่ตนเองอยากทำ พร้อมภาพประกอบเพื่อสื่อสาร Step2 จับคู่เพื่อที่เราอยากแลกเปลี่ยนนความนำความคิดของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนอาจเกิดความคิดใหม่ขณะที่แลกเปลี่ยนกันหรือรวมทั้งสองความคิดเข้าด้วยกันสรุปเพื่ออธิบายสิ่งที่ทำร่วมกัน Step3 รวมกลุ่มย่อยหาเพื่อนที่เราอยากทำงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อเลือกสิ่งที่อยากทำร่วมกัน ขั้นนี้ทุกกลุ่มจะสรุปสิ่งที่ทำมานำเสนอร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ Step4 นำเสนอแลกเปลี่ยนกลุ่มใหญ่เพื่อต่อเติมกันและกัน เมื่อเพื่อนๆช่วยกันต่อเติมเสร็จแล้วทุกกลุ่มจะมาวางแผนร่วมกันเพื่อเตรียมอุปกรณ์แบ่งหน้าการรับผิดชอบหาผู้รู้มาช่วยแนะนำ ในชั่วโมงประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่มีเสียงหลายระดับ ทุกคนตื่นเต้นและมีความพร้อมในการทำ ได้ลงมือสร้างเครื่องดนตรีที่ออกแบบขึ้นทุกคนภูมิใจในผลงานชิ้นนี้ และสามารถเล่นเครื่องดนตรีนี้ได้อย่างสนุกสนาน จากการทำและทดลองเล่นแล้วนักเรียนมาขบคิดกันต่อว่าสิ่งที่เราทำได้สำเร็จ ปัญหาที่เกิด และการแก้ไขปัญหา ได้มาประเมินตนเองและการทำงานเป็นกลุ่มร่วมกันค่ะ

    ตอบลบ